พระอธิการอานันท์ อานันโท หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า พระครูปราโมทย์ประชานุกูล (พระประชานาถมุนี) เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ต.ท่าศาลา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ท่านมีจิตเมตตา โอบอ้อมอารี และชอบช่วยเหลือผู้อื่น พระครูปราโมทย์ประชานุกูลได้ทำนุบำรุงศาสนา ให้วัดดอนจั่นเป็นศาสนสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพระสงฆ์และชาวพุทธ ทั้งยังได้สร้างให้วัดเป็นที่พึ่งของคนยากจน เป็นศูนย์กลางการเรียนของชุมชน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กด้อยโอกาสในสังคม รวมถึงเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร ที่รัฐบาลไม่สามารถจัดระบบการศึกษาเข้าถึงพื้นที่ได้ ใน 13 จังหวัดภาคเหนือ ได้เรียนหนังสืออย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2528 มาจนถึงปัจจุบัน
ประวัติ
ปฐมวัย
พระครูปราโมทย์ประชานุกูล เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2506 ณ บ้านเลขที่ 152 หมู่ที่ 6 อำเภอ ฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันอายุ 52 ปี เดิมชื่อ เด็กชายอานันท์ คำแสน เกิดในครอบครัวเกษตกรที่มีอาชีพทำไร่ทำสวน เป็นบุตรของนายตา และนางเหลียว คำแสน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6 ในพี่น้อง 7 คน ดังนี้
- พระเสงี่ยม คำแสน
- ร้อยตรีปั๋น คำแสน
- นายวิโรจน์ คำแสน
- นายปันคำ คำแสน
- นางสาววัลยา คำแสน
- พระครูปราโมทย์ ประชานุกูล
- นางอำไพร คำแสน
การศึกษา
[responsivetable]
อุปสมบท
เด็กชายอานันท์ คำแสน ได้เข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่บ้านแควมะกอก อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ และเมื่อปีพศ. 17 มีนาคม 2519 ได้บรรพชาที่วัดหลวงฮอด ตำบลฮอด อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี พระครูถาวรรัตนปัญญา เจ้าอาวาสวัดสามัคคาราม อำเภอฮอด เป็นผู้อุปัชฌาย์
ประวัติการทำงาน
- 1 กุมภาพันธ์ 2532 ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- 1 มกราคม 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ฉายา พระอธิการอานันท์ อานนฺโท
- 1 มกราคม 2533 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดดอนจั่น ตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ฉายา พระอธิการอานันท์ อานนฺโท
- พศ. 2551 ได้รับสมณศักดิ์ พัตรยศ ชั้นพระครู ฉายา พระครูปราโมทย์ประชานุกูล
- พ.ศ.2528-ปัจจุบัน
ภาระงานที่ปฏิบัติและรับผิดชอบมีดังนี้
ภาระหน้าที่ในปัจจุบัน
1. เจ้าอาวาสวัดดอนจั่น
2. ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลท่าศาลา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
3. คณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดดอนจั่น
4. พระครู ผู้เผยแพร่ พัฒนาและสืบทอดพระพุทธศาสนา
5. ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 660 คน จาก 9 ชนเผ่า
ผลงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแบบพอสังเขป
- จัดตั้งโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กกำพร้า เด็กยากจน เด็กด้อยโอกาส โดยจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2528 จนถึง ปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการพระสารีบุตร สงเคราะห์อาหารกลางวันแก่ โรงเรียนต่างๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2532 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการนางวิสาขามหาอุบาสิกาสงเคราะห์พี่น้องผู้ตายผู้ยากไร้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการพุทธเมตตาสงเคราะห์กลุ่มชาติพันธุ์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการพระอานนท์สงเคราะห์ วันเด็กแห่งชาติ โดยมอบ ของขวัญรางวัลให้โรงเรียน และหน่วยงานต่างๆ ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการใบบุญพระพุทธเจ้าหลวง จัดทำพิธีบวงสรวงเนื่องใน วันปิยมหาราชก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
- โครงการพระราธะพราหมณ์ สงเคราะห์คนชราที่ยากจน ในเขตตำบลฮอด และตำบลนาคอเรือ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2547 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการพระโมคคัลลานะ พัฒนาอาชีพเพื่ออนาคตแก่เด็กด้อยโอกาส โดยการจัดการศึกษาให้เด็กเรียนรู้ในระดับ ปวช. และ ปวส.
- จัดตั้งโครงการใบบุญพระพุทธเจ้าหลวงสนับสนุนนักเรียนเข้าแข่งขัน ผลงานด้านการกีฬา ด้านแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับกลุ่มระดับจังหวัดระดับเขต ระดับประเทศ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการจัดกิจกรรมวันเด็กประจำปี ในวัดดอนจั่น ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน
- จัดตั้งโครงการอ่านพระไตรปิฎก สวดมนต์ ทำสมาธิ ถวายเป็นพระ ราชกุศลแด่ องค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่9ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน